ซึง สะล้อ ตะโล้ดโป๊ด ปี่ซอ กลองแอว์ เครื่องดนตรีไทย พื้นเมืองภาคเหนือ

เครื่องดนตรีไทย พื้นเมือง

เครื่องดนตรีไทยพื้นเมือง หมายถึง เครื่องดนตรี ที่ใช้เล่นกัน เพื่อ ความบันเทิง หรือ เล่นประกอบ การแสดงพื้นเมือง ตาม ท้องถิ่น ต่าง ๆ เครื่องดนตรีพื้นเมือง จะ มีลักษณะ แตกต่าง กัน ในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ เนื่องจาก สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ ลักษณะนิสัย ของ ประชาชน ในแต่ละ ท้องถิ่น มีความ แตกต่างกัน

เครื่องดนตรีพื้นเมือง ของไทย จำแนก ตาม ภูมิภาค ได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ

  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่


ซึง เป็นเครื่องดีด มี 4 สาย สันนิษฐานว่า น่าจะดัดแปลงแก้ไขวิวัฒนาการมาจากพิณเทียะ ลักษณะของ ซึงตัวกะโหลก และคันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่ หรือ ไม้สักชิ้นเดียวกัน ชาวไทยภาคเหนือ นิยมเล่นซึงกันมาช้านาน ตามปกติใช้เล่นร่วมกับปี่ซอ หรือพวกหนุ่ม ๆ ใช้ดีดเล่นขณะไป “แอ่วสาว”

สะล้อ เป็นเครื่องสี ลักษณะคลายซออู้ แต่ทำไม่ค่อยประณีตนัก คันทวนยาวประมาณ 64 ซม. กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้แผ่นไม้บาง ๆ ปิดหน้า กระโหลกแทนการใช้หนัง ลูกบิดมี 2 อัน เจาะเสียบทแยงกัน มีสายเป็นสายลวดทั้ง 2 สาย คันชักแยกต่างหากจากตัวซอ สะล้อใช้เล่นผสมกับซึง และปี่ซอ ประกอบ การขับร้อง เพลงพื้นเมืองทางเหนือ

ตะโล้ดโป๊ด เป็นกลองขึ้นหนังสองหน้า มีรูปร่างลักษณะ และขนาดเช่นเดียวกับ “เปิงมาง” และ “สองหน้า” แต่ตัว กลองยาวกว่าเปิงมาง และสองหน้าตามลำดับ หน้ากลอง ข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก ตีทางหน้าเล็ก กลองชนิดนี้ ใช้ตีคู่กับกลองแอว์ในขบวนแห่ต่าง ๆ และใช้ตีประกอบการฟ้อน กับใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ในการเล่นเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ

กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียวเช่นเดียวกับกลองยาวของภาคกลาง แต่มีขนาดยาวและใหญ่กว่าหลายเท่า เหตุที่เรียกว่ากลองแอว์ ก็หมายความว่า กลองมีสะเอวนั่นเอง (แอว์คือเอว) ตัวกลองกว้างใหญ่ เอวคอด ตอนท้ายเรียว และปลายบานคล้ายดอกลำโพง กลองชนิดนี้มีประจำตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเกือบทุกวัด สำหรับใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด นอกจากนี้ ยังใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการเล่นพื้นเมือง และใช้ตีเข้าขบวนแห่ในงานพิธี “ปอยหลวง” งานแห่ครัวทาน และงาน “ปอยลูกแก้ว” (บวชเณร)

ปี่ซอ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องยาว มีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ 45 – 80 ซม. สำรับหนึ่งมีจำนวน 3 เล่ม 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม ปี่ซอถ้าใช้ 3 เล่ม มี 3 ขนาด เล่มเล็กเป็นปี่เอก เรียกว่า ปี่ต้อย เล่มกลางเรียกว่า ปี่กลาง และเล่มใหญ่เรียกว่า ปี่ใหญ่

ลักณะการใช้ปี่ซอ

  • ใช้กับทำนองเพลงเชียงใหม่ มักมีซึงร่วมบรรเลงด้วย
  • ใช้กับทำนองเพลงเงี้ยว ตามปกติใช้ปี่เอก หรือปี่ต้อยอย่างเดียวเล่น ร่วมกับซึง หรือบางครั้งอาจใช้ปี่ทั้ง 3 เล่ม ล้วนก็ได้
  • ใช้กับเพลงจ๊อย ซึ่งเป็นเพลงรำพันรักของคนหนุ่มในขณะไปแอ่วสาว (เกี้ยวสาว) ในเวลาค่ำ โดยใช้ปี่เอกเป่าคลอกับการสีสะล้อ
  • ใช้กับทำนองเพระลอ คือ ใช้เป่าประกอบการขับเรื่องพระลอ
  • ใช้กับทำนองเพลงพม่าที่มีสร้องเพลงว่า “เซเลเมา”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *